คุณค่าที่ได้รับงานของสุนทรภู่
งานของสุนทรภู่นับว่ามีคุณค่าเป็นอย่างไร ขอกล่าวชี้แจงเป็น ๔ หัวข้อ
๑. คุณค่าด้านคำประพันธ์
คำประพันธ์ที่สุนทรภู่แต่งและได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนสุภาพที่สุนทรภู่ใช้มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเองเป็นแบบแผนคำประพันธ์ที่คิดขึ้นโดยการนำกลอนกลบทมธุรสวาทีในสมัยอยุธยาและลีลาการแต่งกลอนเพลงยาวของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศมาเพิ่มสัมผัสในและใช้จำนวนคำที่มีลักษณะค่อนข้างแน่นอน กล่าวคือ ใช้จำนวนคำ ๘ คำในแต่ละวรรคและในแต่ละวรรคนี้กำหนดให้มีสัมผัสใน ๒ คู่ ดังรายละเอียดที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่ ๓ และบทที่ ๕ กลอนของสุนทรภู่จึงจัดว่ามีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่นิยมทั้งในหมู่ผู้อ่านและในหมู่ผู้แต่งกลอนไม่ว่าจะเป็นในสมัยเดียวกันหรือในสมัยหลังต่อๆ มา
๒. คุณค่าด้านเนื้อหา
งานของสุนทรภู่เป็นต้นเหตุให้มีการแต่งเรื่องประโลมโลกกันอ่างแพร่หลายในรัชกาลที่ ๕ โดยออกมาในรูปของหนังสือกลอนเล่มละสลึงทั้งนี้เพราะในสมัยนี้หมอสมิธได้นำเอาเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่มาพิมพ์ออกขายโดยแบ่งพิมพ์เป็นตอน ๆ ขายเล่มละสลึงปรากฏว่าว่าขายได้กำไรดีมากจึงได้มีผู้เลียนแบบแต่งนิทานเป็นตามอย่างสุนทรภู่ จนทำให้เกิดนิทานกลอนในสมัยนี้อย่างมากมายและพิมพ์ขายกันอย่างแพร่หลาย โดยมากก็เป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ และเรื่องการผจญภัยของตัวละครเอกเช่นเรื่องเกราะแก้วกายสิทธิ์ขันแก้วนพเก้า โคมทอง จักรแก้ว จำปาแก้วจำปาทอง ทับทิมทองแก้วพิสดาร แก้วหน้าม้า และนางเบี้ยเดียว เป็นต้น เรื่องประโลมโลกเหล่านี้มีบางเรื่องที่พยายามเลียนแบบเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่อย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น ในเรื่องนางเบี้ยเดียวมีเรื่องราวการรบระหว่างไทยกับฝรั่ง และมีตัวละครชื่อผีเสื้อสมุทรเรื่องเกราะเพชรเจ็ดสีมีการอ้างถึงพระอภัยมณี และมีหลายเรื่องที่ผู้แต่งหันมานิยมใช้ฉากทะเลแทนฉากที่เป็นป่าเขาตามความนิยมดั้งเดิม
๓. คุณค่าด้านจินตนาการ
จินตนาการของสุนทรภู่เป็นจินตนาการที่ล้ำเลิศ คิดฝันสิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างน่าประหลาดใจ ยากนักที่ใครจะมีความสามารถดังกล่าวนี้เทียบเทียมสุนทรภู่ได้ เช่น กล่าวถึงเรื่องคนไทยแต่งกายแบบสากลหรือแบบฝรั่งตั้งแต่ยังอยู่ในยุคสมัยที่ไม่มีความคิดเรื่องนี้กันเลย หรือก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงในสมัยต่อมาเกือบหลายสิบปี กล่าวถึงเรือขนาดใหญ่ของโจรสุหรั่งซึ่งเพิ่งจะเกิดมีเรือชนิดนี้ขึ้นจริงในสมัยปัจจุบัน เช่น เรือควีนอลิซาเบธ เรื่อควีนแมรี่ เรือนอมังดี เป็นต้น กล่าวถึงเรื่องหีบดนตรีตั้งแต่ยังไม่มีใครคิดค้นหีบเสียงขึ้นมา กล่าวถึงเรื่องกระโดดร่มในงานฉลองการอภิเษกระหว่างสินสมุทรกับอรุณรัศมี ตั้งแต่ไทยเรายังไม่รู้จักการกระโดดร่ม แต่ไม่ใช่การกระโดดร่มอย่างในเวลาทำศึกสงคราม เป็นการกระโดดร่มซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในงานมหรศพ สุนทรภู่บรรยายกระโดดร่มว่า “บ้างขึ้นไตไม้สูงสามต่อตั้ง รำแพนทั้งโจนร่มตามลมเหลิง” (พระอภัยมณีฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 2 หน้า ๒๗๒)
จินตนาการของสุนทรภู่เป็นจินตนาการที่ล้ำเลิศ คิดฝันสิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างน่าประหลาดใจ ยากนักที่ใครจะมีความสามารถดังกล่าวนี้เทียบเทียมสุนทรภู่ได้ เช่น กล่าวถึงเรื่องคนไทยแต่งกายแบบสากลหรือแบบฝรั่งตั้งแต่ยังอยู่ในยุคสมัยที่ไม่มีความคิดเรื่องนี้กันเลย หรือก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงในสมัยต่อมาเกือบหลายสิบปี กล่าวถึงเรือขนาดใหญ่ของโจรสุหรั่งซึ่งเพิ่งจะเกิดมีเรือชนิดนี้ขึ้นจริงในสมัยปัจจุบัน เช่น เรือควีนอลิซาเบธ เรื่อควีนแมรี่ เรือนอมังดี เป็นต้น กล่าวถึงเรื่องหีบดนตรีตั้งแต่ยังไม่มีใครคิดค้นหีบเสียงขึ้นมา กล่าวถึงเรื่องกระโดดร่มในงานฉลองการอภิเษกระหว่างสินสมุทรกับอรุณรัศมี ตั้งแต่ไทยเรายังไม่รู้จักการกระโดดร่ม แต่ไม่ใช่การกระโดดร่มอย่างในเวลาทำศึกสงคราม เป็นการกระโดดร่มซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในงานมหรศพ สุนทรภู่บรรยายกระโดดร่มว่า “บ้างขึ้นไตไม้สูงสามต่อตั้ง รำแพนทั้งโจนร่มตามลมเหลิง” (พระอภัยมณีฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 2 หน้า ๒๗๒)
๔. คุณค่าด้านอารมณ์
งานของสุนทรภู่มีคุณค่าด้านอารมณ์อยู่ไม่น้อย เพราะอ่านหรือฟังได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และอ่านได้อย่างไม่รู้เบื่อ เนื่องจากสุนทรภู่สร้างเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจสอดร้อยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้เป็นอย่างดี
งานประเภทนิราศ นอกจากจะเล่าเรื่องการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ แล้ว ยังสอดแทรกคำคร่ำครวญที่มีต่อหญิงที่รัก คติชีวิต ตำนาน และความคิดเห็นของสุนทรภู่ที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นระหว่างทาง ทำให้ผู้อ่านได้รับรสและเกิดอารมณ์ต่าง ๆ กัน ตอนใดที่สุนทรภู่มีความสุข ผู้อ่านก็จะพลอยรู้สึกเบิกบาน มีความสุขตามสุนทรภู่ ตอนใดที่สุนทรภู่มีความทุกข์ ผู้อ่านก็จะรู้สึกเศร้าสลด เกิดความสะเทือนใจในเคราะห์กรรมของสุนทรภู่ด้วย
งานประเภทนิทาน ผู้อ่านจะได้รับความเพลินเพลิดตามเนื้อหาของเรื่อง โดยมากเป็นเรื่องผจญภัยของตัวเอก
เนื้อหาบางตอนที่แปลกใหม่ เป็นสิ่งที่ผู้อ่านไม่คุ้นเคย ก็กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัน สนใจใคร่รู้เกิดความสนุกสนาน
นอกจากนี้ยังมีเรื่องนิทานอธิบายความเป็นมาของสภาพร่างกายสัตว์ด้วย สุนทรภู่อธิบายเรื่องจระเข้ไม่มีลิ้น โดยให้ลักษณวงศ์เล่าให้นางเกสรฟัง
...................................................................................................................................................................
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/surasakc/2009/04/10/entry-1