วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บทที่5คุณค่าที่ได้รับ

คุณค่าที่ได้รับงานของสุนทรภู่ 
            งานของสุนทรภู่นับว่ามีคุณค่าเป็นอย่างไร ขอกล่าวชี้แจงเป็น ๔ หัวข้อ

๑.  คุณค่าด้านคำประพันธ์
                คำประพันธ์ที่สุนทรภู่แต่งและได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดได้แก่  กลอนสุภาพ  กลอนสุภาพที่สุนทรภู่ใช้มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเองเป็นแบบแผนคำประพันธ์ที่คิดขึ้นโดยการนำกลอนกลบทมธุรสวาทีในสมัยอยุธยาและลีลาการแต่งกลอนเพลงยาวของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศมาเพิ่มสัมผัสในและใช้จำนวนคำที่มีลักษณะค่อนข้างแน่นอน  กล่าวคือ  ใช้จำนวนคำ  ๘  คำในแต่ละวรรคและในแต่ละวรรคนี้กำหนดให้มีสัมผัสใน  ๒  คู่  ดังรายละเอียดที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่  ๓  และบทที่ ๕  กลอนของสุนทรภู่จึงจัดว่ามีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง  เป็นที่นิยมทั้งในหมู่ผู้อ่านและในหมู่ผู้แต่งกลอนไม่ว่าจะเป็นในสมัยเดียวกันหรือในสมัยหลังต่อๆ  มา

๒.  คุณค่าด้านเนื้อหา
                งานของสุนทรภู่เป็นต้นเหตุให้มีการแต่งเรื่องประโลมโลกกันอ่างแพร่หลายในรัชกาลที่ ๕  โดยออกมาในรูปของหนังสือกลอนเล่มละสลึงทั้งนี้เพราะในสมัยนี้หมอสมิธได้นำเอาเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่มาพิมพ์ออกขายโดยแบ่งพิมพ์เป็นตอน ๆ  ขายเล่มละสลึงปรากฏว่าว่าขายได้กำไรดีมากจึงได้มีผู้เลียนแบบแต่งนิทานเป็นตามอย่างสุนทรภู่  จนทำให้เกิดนิทานกลอนในสมัยนี้อย่างมากมายและพิมพ์ขายกันอย่างแพร่หลาย  โดยมากก็เป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ และเรื่องการผจญภัยของตัวละครเอกเช่นเรื่องเกราะแก้วกายสิทธิ์ขันแก้วนพเก้า โคมทอง จักรแก้ว  จำปาแก้วจำปาทอง  ทับทิมทองแก้วพิสดาร  แก้วหน้าม้า  และนางเบี้ยเดียว  เป็นต้น เรื่องประโลมโลกเหล่านี้มีบางเรื่องที่พยายามเลียนแบบเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่อย่างเห็นได้ชัดเจน  เช่น  ในเรื่องนางเบี้ยเดียวมีเรื่องราวการรบระหว่างไทยกับฝรั่ง  และมีตัวละครชื่อผีเสื้อสมุทรเรื่องเกราะเพชรเจ็ดสีมีการอ้างถึงพระอภัยมณี  และมีหลายเรื่องที่ผู้แต่งหันมานิยมใช้ฉากทะเลแทนฉากที่เป็นป่าเขาตามความนิยมดั้งเดิม

๓.  คุณค่าด้านจินตนาการ            
                  จินตนาการของสุนทรภู่เป็นจินตนาการที่ล้ำเลิศ  คิดฝันสิ่งต่าง ๆ  ในอนาคตได้อย่างน่าประหลาดใจ  ยากนักที่ใครจะมีความสามารถดังกล่าวนี้เทียบเทียมสุนทรภู่ได้  เช่น  กล่าวถึงเรื่องคนไทยแต่งกายแบบสากลหรือแบบฝรั่งตั้งแต่ยังอยู่ในยุคสมัยที่ไม่มีความคิดเรื่องนี้กันเลย  หรือก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงในสมัยต่อมาเกือบหลายสิบปี  กล่าวถึงเรือขนาดใหญ่ของโจรสุหรั่งซึ่งเพิ่งจะเกิดมีเรือชนิดนี้ขึ้นจริงในสมัยปัจจุบัน  เช่น  เรือควีนอลิซาเบธ  เรื่อควีนแมรี่  เรือนอมังดี  เป็นต้น  กล่าวถึงเรื่องหีบดนตรีตั้งแต่ยังไม่มีใครคิดค้นหีบเสียงขึ้นมา  กล่าวถึงเรื่องกระโดดร่มในงานฉลองการอภิเษกระหว่างสินสมุทรกับอรุณรัศมี  ตั้งแต่ไทยเรายังไม่รู้จักการกระโดดร่ม  แต่ไม่ใช่การกระโดดร่มอย่างในเวลาทำศึกสงคราม  เป็นการกระโดดร่มซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในงานมหรศพ  สุนทรภู่บรรยายกระโดดร่มว่า  บ้างขึ้นไตไม้สูงสามต่อตั้ง  รำแพนทั้งโจนร่มตามลมเหลิง”  (พระอภัยมณีฉบับหอสมุดแห่งชาติ  เล่ม  2  หน้า  ๒๗๒)

๔. คุณค่าด้านอารมณ์
                    งานของสุนทรภู่มีคุณค่าด้านอารมณ์อยู่ไม่น้อย  เพราะอ่านหรือฟังได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน  และอ่านได้อย่างไม่รู้เบื่อ  เนื่องจากสุนทรภู่สร้างเรื่องราวต่าง ๆ  ได้อย่างน่าสนใจสอดร้อยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้เป็นอย่างดี
                งานประเภทนิราศ  นอกจากจะเล่าเรื่องการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ  แล้ว  ยังสอดแทรกคำคร่ำครวญที่มีต่อหญิงที่รัก  คติชีวิต  ตำนาน  และความคิดเห็นของสุนทรภู่ที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ  ที่ได้พบเห็นระหว่างทาง  ทำให้ผู้อ่านได้รับรสและเกิดอารมณ์ต่าง ๆ  กัน  ตอนใดที่สุนทรภู่มีความสุข  ผู้อ่านก็จะพลอยรู้สึกเบิกบาน  มีความสุขตามสุนทรภู่  ตอนใดที่สุนทรภู่มีความทุกข์  ผู้อ่านก็จะรู้สึกเศร้าสลด  เกิดความสะเทือนใจในเคราะห์กรรมของสุนทรภู่ด้วย
                งานประเภทนิทาน  ผู้อ่านจะได้รับความเพลินเพลิดตามเนื้อหาของเรื่อง  โดยมากเป็นเรื่องผจญภัยของตัวเอก
                เนื้อหาบางตอนที่แปลกใหม่  เป็นสิ่งที่ผู้อ่านไม่คุ้นเคย  ก็กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัน  สนใจใคร่รู้เกิดความสนุกสนาน
                นอกจากนี้ยังมีเรื่องนิทานอธิบายความเป็นมาของสภาพร่างกายสัตว์ด้วย  สุนทรภู่อธิบายเรื่องจระเข้ไม่มีลิ้น  โดยให้ลักษณวงศ์เล่าให้นางเกสรฟัง


...................................................................................................................................................................






ที่มา   http://oknation.nationtv.tv/blog/surasakc/2009/04/10/entry-1

บทที่6ความสำคัญของบทกลอน

บทที่5ความสำคัญของบทกลอน

เรื่องลักษณวงศ์นี้ สุนทรภู่แต่งบทพรรณนาไว้อย่างไพเราะงดงามหลายบท เช่นบทยกทัพ แต่งเป็นกลบทครอบจักรวาลดังนี้
          ได้ฤกษ์ชั้นลั่นฆ้องถึงสามหน    ขยายพลยกเขยื้อนเคลื่อนขยาย
          พรายอากาศดาษโพยมพยับพราย        เรียงรถรายท้ายรถระดะเรียง
          ครึกครื้นเครงโครมประโคมครึก        เสียงพิลึกเลื่อนลั่นสนั่นเสียง
          เอียงพิภพสิงขรจะอ่อนเอียง       พิมานเพียงพลาดทับกับพิมาน
          ช่องพระแกลเทพแลอยู่ทุกช่อง  ประสานเสียงกรีดร้องซ้องประสาน
          มารแห่โห่ทั่วทุกตัวมาร      ชลธารเป็นระลอกกระฉอกชล
          นกตื่นแตกพรูทุกหมู่นก      ฝนก็ตกฟ้าคลุ้มชอุ่มฝน
          พลมารกลุ้มกลํ้าทั้งอำพน     ตาลานลนแกว่งดาบออกปลาบตา
          ช้างที่นั่งลอยเลิศประเสริฐช้าง   หน้าสล้างดูงามทั้งสามหน้า
          งาจะช้อนดาวตกทั้งหกงา          งวงจะคว้าเดือนงามทั้งสามงวง
          กษัตริย์ทรงองค์เลิศประเสริฐกษัตริย์  ช่วงชวัดแสงเครื่องดูเรืองช่วง
          ดวงพระพักตร์ผ่องเหมือนกันเดือนดวง        อินทร์ไม่ล่วงเลยท้าวเมื่อเทียบอินทร์
          รถมณีสีสว่างกระจ่างรถ  ฉินฉะอ้อนงอนชดดูเฉิดฉิน
          ยุพินทรงเอกองค์พระยุพิน         นางอัปสรทั้งสิ้นไม่เกินนาง
บทบรรยายธรรมชาติในป่าความว่า
          มะเดือดกตกเกลื่อนระดาดาษ   ก็โอภาสผลแดงดั่งแสงเสน
          วายุโบกโยกโยนโอนระเนน     ในบริเวณหว่างสิขรินทร์เรียง
          แก้วกระทุ่มกุ่มกระถินทั้งฝิ่นฝาง         กระโดนพยอมยางยูงพะยูงเหียง
          เรียบเสลาเถาสลิดสลับเรียง       นกเขาเคียงคู่คูบนยอดแค
          กิ่งมะไฟไก่ฟ้าเข้าแฝงกิ่ง นางนวลนิ่งแนบนางไม่ห่างแห
          ฝูงกระลิงเลียบกิ่งต้นแกแล        รอกกระแตเต้นตื่นออกรื่นเริง
............................................................................................................................
บทพรรณนาความทุกข์ตรมของตัวละคร ซึ่งสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่านหลายบท เช่นตอนที่ลักษณวงศ์ออกเดินทางไปเมืองมยุราเพื่อช่วยพระมารดา มีบทกลอนว่า
          รื่นรื่นชื่นกลิ่นผกามาศ     บุปผชาติลมชายไม่หายโหย
          พระหอมกลิ่นสุกรมเมื่อลมโชย ยิ่งดิ้นโดยกรมจิตคิดรำจวน
          เห็นนางนกกกลูกประคองกอด สะท้อนทอดหฤทัยอาลัยหวน
          เหมือนแม่เจ้าคราวกอดถนอมนวล      เลี้ยงสงวนลูกไว้ไม่ไกลกาย
............................................................................................................................
ด้านเนื้อหาสาระ กล่าวได้ว่ากวีนิพนธ์เรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาเช่นเดียวกับนิทานคำกลอนเรื่องอื่น ๆ ของสุนทรภู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง กรรม” “บาป-บุญและ การสร้างกุศลซึ่งผู้อ่านจะได้พบตลอดทั้งเรื่อง แทรกด้วยคำสอนให้ประพฤติดี ละเว้นความชั่ว และสอนให้เห็นผลของการกระทำ คือ ผู้ทำดีย่อมได้รับผลดีตอบสนอง ส่วนผู้ทำชั่ว ผลชั่วก็จะตอบสนองเช่นกัน
ดังตอนที่ลักษณวงศ์สังหารท้าววิรุญมาศเจ้าเมืองมยุราสิ้นชีพ นางสุวรรณอำภากล่าวถึงผลการกระทำของท้าววิรุญมาศไว้ดังนี้
          ว่าดูราเสนาสนมนาฏ       ทั้งพระญาติยักษาที่อาสัญ
          เพราะโลภหลงไม่ดำรงในราชธรรม์    ท้าวกุมภัณฑ์ดื้อดึงจนถึงตาย
          ก็เพื่อเพราะผลกรรมได้ทำไว้     อย่าน้อยใจอสุรินสิ้นทั้งหลาย
............................................................................................................................
และตอนที่วิทยาธรสองตนต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงนางทิพเกสร จนต้องอาวุธตายทั้งคู่ แต่งเป็นคำกลอนกล่าวไว้ว่า
          ทั้งสองฮึกโอหังจนสังขาร์         เพราะตัณหาพาชีพให้ฉิบหาย
          กเฬวรากชากศพประกบตาย     ริมเชิงชายสิขเรศคิรีวัน
วรรณคดีเรื่องนี้ยังให้คติธรรมและคำสอนในเรื่องความกตัญญู ต่อผู้มีพระคุณ เรื่องการรบ การระวังรักษาอาวุธ ความรัก และเรื่องโลกีย์ ซึ่งให้ข้อคิดอันเป็นคุณประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้ยึดถือปฏิษัติ เชน ตอนที่นางสุวรรณอำภาประณามท้าววิรุญมาศความว่า
          ไม่มีอายชายเชื้อมิจฉาชาติ         ใจฉกาจผิดอย่างปางประถม
          หำกาเมสุมิจฉาเป็นอารมณ์        เที่ยวชิงชมเชยชิดไม่คิดอาย
          ให้ลูกพรากจากแม่ไม่สังเวช     เป็นชายเชษฐ์อกุศลกว่าคนทั้งหลาย
          ช่างไม่อายสามนต์พลนิกาย       ไม่ขอเห็นเช่นชายเหมือนกุมภัณฑ์
......................................................................................................................................
อีกทั้งบทกลอนที่ให้ข้อคิดแก่ผู้หญิงว่า
          เป็นหญิงเที่ยวเดี่ยวโดดทุกลำเนา        โอ้ผู้ใดใครเขาจะกลัวเกรง
          เหมือนมาลีคลี่กลีบตรลบหอม  จะตามตอมเฝ้ารุมกันคุมเหง
          เอกากายชายหรือจะมาเกรง       โอ้ตัวเองก็จะอายไม่วายวัน
นิทานเรื่องลักษณวงศ์นี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องคู่สร้าง การกราบไหว้บูชาและตั้งสัตย์อธิษฐานบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพยดาอารักษ์ เพื่อให้มาช่วยเหลือ คุ้มครอง หรือเป็นทิพย์พยาน รวมทั้งความเชื่อเรื่องความฝัน การทำนายฝัน และการทำนายโชคชะตา โดยเฉพาะเรื่องลางร้ายต่าง ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจของผู้ที่ประสบค่อนข้างมาก
............................................................................................................................
ทั้งยังแทรกด้วยวัฒนธรรมประเพณีของคนไทยในอดีต เช่น ธรรมเนียมปฏิบัติในราชสำนัก การแต่งกายและการละเล่นของชาววัง รวมถึงประเพณีสำคัญ เช่น พิธีบรมราชาภิเษก พิธีสมโภช การสร้างพระเมรุ พิธีถวายเพลิงพระศพ การละเล่นในงานมหรสพ เป็นต้น อีกทั้งภูมิปัญญาของคนโบราณ อาทิ ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ดังคำกลอนว่า
          นางชาววังแหวกม่านประสานเสียง     เห็นช้างเคียงฉวยคว้าพฤกหาหัก
          เห็นอะไรก็ให้กำเริบรัก   ไม่รู้จักหนามุ้ยเอามือทึ้ง
          ละอองลูกถูกเนื้อมันเหลือเล่ห์   สมคะเนเกาสนุกลุกทะลึ่ง
          พวกขอเฝ้าเหล่าโขลนตะโกนอึง         ใบตำลึงหม่อมจ๋าแก้หมามุ้ย
          นอกจากนี้สุนทรภู่ยังนำตำนานเกี่ยวกับสัตว์มาแทรกไว้ โดยผูกเรื่องให้ตัวละครเป็นผู้ถามและผู้เล่า ได้แก่ ตำนานจระเข้ไม่มีลิ้น กระต่ายกินแต่นํ้าค้างในป่า ไม่ชอบลงกินนํ้าที่ท่า และตำนานลายที่ตัวเสือ ซึ่งทำให้วรรณคดีเรื่องนี้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ด้านการตรวจชำระเพื่อการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้สอบเทียบกับต้นฉบับสมุดไทยเรื่องลักษณวงศ์ในหมวดวรรณคดี หมู่กลอนอ่าน ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ เลขที่ ๒, , ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๖, ๒๕ และ ๒๖ รวมทั้งเทียบเคียงกับฉบับพิมพ์ครั้งแรก และปรับอักชรวิธีบางส่วนเป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดทำเชิงอรรถอธิบายความเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่าน
...........................................................................................................................

 ที่มา  http://vajirayana.org/ลักษณวงศ์







บทที่4ตัวละคร

ตัวละคร
1. โอรสกับนางทิพเกสร           ชื่อ เกสรสุริยวงค์
2. โอรสกับนางกินนร               ชื่อ  รัตนกำพล  สุรัศวดี  คงคา  ดิษฐะกุมาร และ สุวรรณ์วงศ์
3. โอรสกับนางยี่สุ่นสุมาลี        ชื่อ วงศ์สุมาลี
4. โอรสกับนางสร้อยศะศิธร     ชื่อ มณีสุริยา

5.  โอรสกับนางบุบผา               ชื่อ มาลาสุริยวงศ์
......................................................................................................................................


ที่มา  https://archive.clib.psu.ac.th/online-exhibition/sunthornphoo/page5.html

บทที่3เนื้อเรื่องย่อ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


บทที่3เนื้อเรื่องย่อ
          กษัตริย์ผู้ครองเมืองพาราณสีพระนามว่าท้าวพรหมทัต มีมเหสีทรงพระสิริโฉมงดงามพระนามว่าสุวรรณอำภา และพระโอรสพระนามว่าลักษณวงศ์ พระชันษาได้ ๘ ปี วันหนึ่งทั้งสามพระองค์เสด็จประพาสป่า นางยักขิณีคิดกำจัดมเหสีและพระโอรส จึงแปลงเป็นกวางทองมาล่อให้ท้าวพรหมทัตไล่ติดตามจนพลัดกับเหล่าเสนา แล้วกลับร่างเป็นยักษ์ แกล้งบอกว่าพระมเหสีวางอุบายให้ลวงมาฆ่า แล้วนางยักขิณีแปลงเป็นนางงาม อ้างว่าได้รับพรจากเทพยดา พวกยักษ์และผีป่าจึงเกรงกลัว พร้อมทั้งอาสาไปส่งจนถึงเมืองท้าวพรหมทัตโกรธแค้นนางสุวรรณอำภาเป็นอันมากจึงตรัสสั่งให้นำไปประหาร ลักษณวงศ์อ้อนวอนขออภัยโทษให้แก่พระมารดาแต่ไม่โปรด จึงเศร้าโศกเสียพระทัยและติดตามพระมารดาไปถึงสถานที่ประหาร ทรงกอดนางไว้ไม่ห่างทำให้เพชฌฆาตไม่อาจประหารได้ ด้วยความสงสารจึงพากันไปกราบทูลท้าวพรหมทัต แต่พระองค์กลับสั่งให้ประหารลักษณวงศ์ไปเสียด้วยกัน ครั้นพระอินทร์ทรงทราบก็เสด็จลงมาช่วย บันดาลให้เพชฌฆาตเงื้อดาบค้างไม่อาจฟันลงได้ เพชฌฆาตจึงปล่อยทั้งสองพระองค์ให้หนีไปในป่า แล้วกลับมากราบทูลท้าวพรหมทัตว่าได้ประหารเสร็จแล้ว ท้าวพรหมทัตจึงเสด็จกลับเมืองพร้อมด้วยนางยักษ์แปลง ได้นางเป็นมเหสี มีพระธิดาพระนามว่าทัศโกสุมฝ่ายนางสุวรรณอำภากับพระลักษณวงศ์เดินทางระหกระเหินจนอ่อนกำลัง ขณะบรรทมหลับ ท้าววิรุญมาศขุนยักษ์มาพบและบังคับนางสุวรรณอำภาไปเมืองมยุราเพื่อเป็นมเหสีของตน โดยขู่ว่าหากไม่ยอมไป จะสังหารลักษณวงศ์ซึ่งต้องมนตร์สะกดหลับสนิทอยู่ นางจึงจำใจเดินทางไปกับขุนยักษ์ เมื่อตั้งสัตย์อธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าไม่ขอมีพระสวามีอื่นอีก ทำให้ประเวณีในร่างกายของนางหายไป แต่นางลวงท้าววิรุญมาศให้หลงเชื่อว่า เมื่อนางคลายความห่วงอาลัยในพระโอรสลงแล้วก็คงจะได้สมความปรารถนา ท้าววิรุญมาศดีพระทัย จึงสั่งให้เหล่านางกำนัลเฝ้าดูแลปรนนิบัตินางสุวรรณอำภาเป็นอย่างดีส่วนลักษณวงศ์ตื่นขึ้นไม่เห็นพระมารดา ก็เที่ยวร้องเรียกหาและออกติดตามจนพบนางทิพเกสรที่อาศรมพระฤๅษีมหาเมฆ พระฤๅษีเล็งญาณรู้ว่าลักษณวงศ์กับนางทิพเกสรเป็นคู่สร้างกัน แล้วบอกลักษณวงศ์ให้ทราบเหตุที่เกิดกับพระบิดาและพระมารดา พร้อมทั้งชวนให้อยู่เรียนวิชาและเวทมนตร์ต่าง ๆ เมื่อลักษณวงศ์เล่าเรียนและฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้ว จึงขอลาไปช่วยพระมารดา โดยสัญญาว่าเสร็จธุระแล้วจะกลับมารับนางทิพเกสร พระฤๅษีจึงให้พระขรรค์และศรเป็นอาวุธประจำกาย พร้อมทั้งเสกขึ้ผึ้งเป็นม้าทรงสำหรับเหาะเหินเดินทางได้รวดเร็ว ลักษณวงศ์ไปช่วยพระมารดาได้สำเร็จ สามารถสังหารท้าววิรุญมาศและได้ครองเมืองมยุรา แต่ยังมารับนางทิพเกสรไม่ได้ เพราะพระมารดาขอร้องให้ไปปราบนางยักษ์ที่เมืองพาราณสีก่อนลักษณวงศ์พร้อมด้วยพระมารดากรีธาทัพยักษ์ไปล้อมเมืองพาราณสี นางยักษ์แปลงอาสาออกรบ เมื่อเหล่าเสนาไล่จับจึงกลับร่างเป็นยักษ์และถูกจับได้ ท้าวพรหมทัตดีพระทัยที่ได้พบนางสุวรรณอำภาและพระลักษณวงศ์ ตรัสสั่งให้นำนางยักษ์ไปถ่วงทะเล แล้วให้จัดการสมโภชทั้งสองพระองค์ และปกครองเมืองพาราณสีอย่างสงบสุขสืบมาฝ่ายนางทิพเกสรเฝ้ารอลักษณวงศ์มารับจนกระทั่งพระฤๅษีวายชนม์ นางเศร้าโศกเพราะขาดที่พึ่งถึงกับคิดฆ่าตัวตาย กินรีห้านางผ่านมาจึงช่วยไว้แล้วพาไปอยู่ด้วยกันที่ถํ้า เมื่อลักษณวงศ์เดินทางมารับที่พระอาศรมจึงไม่พบใคร แต่นางกินรีน้องสุดท้องช่วยพาไปพบนางทิพเกสรและได้นางเป็นพระชายา รวมทั้งได้ร่วมภิรมย์กับนางกินรีทั้งห้าด้วย หลังจากนั้นลักษณวงศ์พานางทิพเกสรเดินทางกลับเมืองพาราณสี เมื่อพักบรรทมระหว่างทาง มหิงสาวิชาธรมาลักพานางไป แล้วจันทาวิชาธรต่อสู้ช่วงชิงจนต้องอาวุธสิ้นชีพทั้งคู่ นางทิพเกสรต้องเดินทางในป่าเพียงลำพัง เทพยดาสงสารเกรงว่าจะได้รับอันตรายเพราะเป็นผู้หญิงตัวคนเดียว จึงแปลงเป็นพราหมณ์นำแหวนมาให้สวมใส่ ทำให้ร่างกายของนางเปลี่ยนเป็นพราหมณ์น้อย หากถอดแหวนก็จะกลับร่างเป็นสตรีตามเดิม พร้อมทั้งบอกทิศให้นางเดินทางไปตามหาลักษณวงศ์ด้านลักษณวงศ์เมื่อมนตร์สะกดคลายก็ตื่นขึ้น ครั้นไม่พบนางทิพเกสรก็เฝ้าแต่เศร้าโศก เที่ยวตามหาไปจนถึงเมืองยุบลของท้าวกรดสุริกาล ได้พระธิดายี่สุ่นเป็นมเหสีและครองเมืองยุบล ฝ่ายนางทิพเกสรทรงครรภ์ แต่รูปเนรมิตของพราหมณ์พรางไว้จึงมองไม่เห็น นางเดินทางตามหาลักษณวงศ์จนเข้าเขตเมืองยุบล ได้พบพรานป่าคนหนึ่ง บอกให้รู้ข่าวลักษณวงศ์เป็นกษัตริย์เมืองยุบลและได้มเหสีองค์ใหม่ นางทิพเกสรเสียพระทัยมากและขอให้นายพรานพาเข้าถวายตัว เมื่อลักษณวงศ์เห็นพราหมณ์เกสรมีรูปร่างหน้าตาและนํ้าเสียง อีกทั้งชื่อคล้ายกับนางทิพเกสรก็สงสัย ส่วนพราหมณ์เกสรนั้นเฝ้ารับใช้ใกล้ชิด จนเป็นที่โปรดปรานมาก ทำให้ลักษณวงศ์ห่างเหินจากนางยี่สุ่นและเหล่าสนมกำนัลทั้งหลาย นางยี่สุ่นอิจฉาพราหมณ์เกสรจึงคิดอุบายใส่ความว่าพราหมณ์ทำกิริยาเชิงชู้สาวกับตน ลักษณวงศ์หลงเชื่อโดยไม่ไต่สวนความให้ถ้วนถี่ ตรัสสั่งให้นำพราหมณ์เกสรไปโบยและจองจำแล้วประหารชีวิต เมื่อเพชฌฆาตลงดาบประหาร ร่างพราหมณ์เกสรกลับเป็นนางงามและคลอดพระโอรส ลักษณวงศ์ทราบเรื่องจึงรีบเสด็จไปที่ลานประหาร ครั้นเห็นว่าเป็นนางทิพเกสรก็เศร้าโศกเสียพระทัยอย่างสุดประมาณจนสลบไป ครั้นสร่างโศกแล้วจึงสั่งให้เคลื่อนพระศพเข้าเมือง และจัดพิธีถวายเพลิงพระศพอย่างสมพระเกียรติ
.....................................................................................................................................




ที่มา   https://th.wikipedia.org/wiki/ลักษณวงศ์ (เรื่องย่อ)

บทที่2ประวัติผู้แต่ง


                                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สุนทรภู่
                               
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สุนทรภู่
              

           ท่านเป็นกวีเอกคนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์  เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2329  ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง  มารดาเป็นคนจังหวัดไหนไม่ปรากฏ  ตั้งแต่สุนทรภู่ยังเด็ก บิดากลับไปบวชที่เมืองแกลง ส่วนมารดามีสามีใหม่มีลูกผู้หญิงอีก 2 คน ชื่อฉิมกับนิ่ม ต่อมามารดาได้เป็นแม่นมของพระองค์เจ้าจงกล พระธิดาของกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่จึงเข้าไปอยู่ในวังกับมารดา  ตอนยังเป็นเด็ก สุนทรภู่ได้เล่าเรียนที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) โตขึ้นก็เข้ารับราชการเป็นนายระวางพระคลังสวน ไม่นานก็ลาออกเพราะไม่ชอบงานนี้ ชอบแต่การแต่งกลอน และแต่งสักวาเท่านั้น

...................................................................................................................................................................

ที่มา https://hilight.kapook.com/view/24209/26

วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บทที่1บทนำ

วรรณคดี          
        วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
          วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
วรรณคดีในภาษาไทยวรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature" ในภาษาอังกฤษ โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน แปลว่า การศึกษาระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้
 1  อาชีพการประพันธ์
 2 งานเขียนในสมัยใดสมัยหนึ่ง
  3  งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และผู้อ่านทั่วไป




ที่มา   https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณคดี

บทที่5คุณค่าที่ได้รับ

คุณ ค่าที่ได้รับงานของสุนทรภู่               งานของสุนทรภู่นับว่ามีคุณค่าเป็นอย่างไร ขอกล่าวชี้แจงเป็น ๔ หัวข้อ ๑.  คุณค่าด้านคำประพั...